มัยโคพลาสมาเป็นกลุ่มเชื้อแบคทีเรียที่มีขนาดเล็กมาก และไม่มีผนังเซลล์ จัดเป็นข้อแตกต่างจากแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ การไม่มีผนังเซลล์นี้เอง ทำให้เชื้อมีความอ่อนแอมาก สามารถถูกฆ่าได้ง่ายด้วยสารฆ่าเชื้อทั่วไป ความร้อน และแสงแดด
โดยส่วนใหญ่แล้วเชื้อมัยโคพลาสมาไม่ก่อให้เกิดโรค ยกเว้นเชื้อบางตัวซึ่งมีความสำคัญในไก่ ในที่นี้จะกล่าวถึงมัยโคพลาสมา กัลลิเซ็พติกุม (Mycoplasma gallisepticum หรือเอ็มจี) และมัยโคพลาสมา ซินโนวิอี (Mycoplasma synoviae หรือ เอ็มเอส) ซึ่งเป็นเชื้อสองตัวที่มีบทบาทสำคัญในบ้านเรา
1. โรคติดเชื้อเอ็มจีเป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังหรือซีอาร์ดี (Chronic respiratory disease : CRD) เอ็มจีจัดเป็นเชื้อที่ก่อความรุนแรงมากที่สุดในโรคติดเชื้อมัยโคพลาสมา และก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ โดยมักจะถูกคัดซากทิ้งหรือตัดราคาที่โรงเชือด ไก่กินอาหารลดลง ประสิทธิภาพการผลิตไข่ลดลง
สามารถติดต่อโดยการได้รับเชื้อผ่านเข้าไปทางระบบทางเดินหายใจส่วนต้น และ/หรือทางเยื่อบุตา หรือการได้รับเชื้อจากไก่ป่วย หรือการได้รับเชื้อที่ปนเปื้อนในอากาศ มูลไก่ หรือขนไก่ เป็นต้น
มีระยะฟักตัวตั้งแต่ 6-21 วัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ดังนั้นการทำนายว่าไก่เริ่มมีอาการติดเชื้อต้งแต่เมื่อใด จึงทำได้ค่อนข้างยาก ในไก่ไข่มักพบว่าจะเริ่มแสดงอาการในช่วงใกล้พีคไข่ ส่วนไก่เนื้อมักพบโรคในช่วงอายุ 4-8 สัปดาห์
- อาการและรอยโรค
อาการที่พบได้บ่อยที่สดุ ในไก่เนื้อ คือ อาการ ทางระบบทางเดิน หายใจ ได้แก่ หายใจ เสียงดัง มีน้ำมูก หน้า บวม หนังตาบวม ตา แฉะ กินอาหารลดลง น้ำหนักลดลง และไอ
การให้ยาจะช่วยลดการแพร่เชื้อผ่านไข่ได้ แต่ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคให้หมดไปได้ เนืองจากยาไม่สามารถเข้าถึงตัวเชื้อที่อยู่บนเนื้อเยื่อบุผิวของทางเดินหายใจ ดังนั้นไก่จะยังเป็นตัวอมโรคและสามารถแพร่โรคต่อไปได้
จึงไม่แนะนำให้ใช้ยาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดโรคให้หมดไป และควรใช้ในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น และการให้ยาบ่อย ๆ หรือให้ยาไม่ถูกต้อง จะทำให้เชื้อเกิดการดื้อยาได้ จึงควรมีการเปลี่ยนยาหลังจากมีการให้ยาติดต่อกันในระยะหนึ่ง