Last updated: 18 เม.ย 2562 |
โรคพยาธิหนอนหัวใจ
มียุงเป็นพาหนะ การติดเชื้อเกิดขึ้นได้เนื่องจากยุงกินเลือดสุนัขที่มีตัวอ่อนของเชื้ออยู่ ซึ่งตัวอ่อนนนั้นจะพัฒนาในตัวยุง จากนั้นจะปล่อยตัวอ่อนระยะติดเชื้อให้สุนัขตัวอื่นที่ยุงกินเลือด ซึ่งจริงๆ แล้วแมวก็มีสิทธิ์เป็นโรคนี้ได้เหมือนกัน
ตัวอ่อนของพยาธิจะเติบโตอยู่ในระบบหมุนเวียนเลือด และคอยแพร่พันธุ์เหล่าพยาธิให้มากขึ้น จนทำให้อุดตัดเส้นเลือดบริเวณหัวใจ และบริเวณใกล้เคียง ก่อให้เกิดภาวะปอดอักเสบอย่างรุนแรงร่วมด้วย
โดยช่วงแรกนั้น สุนัขจะยังไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่เมื่อพยาธิมีมากขึ้น จะทำให้สุนัขเกิดอาการหอบ เหนื่อยง่ายแม้ไม่ได้ออกกำลังกาย ไอแห้งๆ ร้ายที่สุดคืออาจทำให้หัวใจวายได้
การป้องกัน
เนื่องจากการรักษาใช้เวลานาน และค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เป็นจะดีที่สุด สามารถป้องกันได้โดยการ
1. พาไปฉีดยาป้องกันทุก 2-3 เดือน หรือใช้ผลิตภัณฑ์ หยอดหลัง (spot-on) หรือ การกินยาเพื่อกำจัดตัวอ่อนพยาธิทุกเดือน เป็นต้น
2. กำจัดแหล่งน้ำหรือแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เพื่อลดโอกาสในการเกิดโรคในสัตว์เลี้ยง
======================
สอบถามผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้ทาง
ไลน์ไอดี @pillasupply
======================
การรักษาหนอนพยาธิหัวใจ
ทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากการฆ่าตัวเต็มวัยทันทีอาจทำให้ตัวอ่อนจำนวนมากตายและไปอุดหลอดเลือด ซึ่งมักจะทำให้สุนัขเสียชีวิตจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอดตามมา
โดยทั่วไปจะใช้วิธีการจัดการแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ ใช้การฆ่าตัวอ่อนไปเรื่อยๆ ร่วมกับการจัดการ Wolbachia sp. ที่มากับตัวอ่อน โดยการใช้ยากินที่ควบคุมพยาธิหนอนหัวใจ กินไปทุกเดือน และใช้ doxycycline เพื่อจัดการแบคทีเรีย เดือนเว้นเดือน ทำการตรวจหาตัวอ่อนในกระแสเลือดซ้ำทุกเดือน เมื่อมั่นใจว่าไม่มีแล้วจึงสามารถใช้ยาฆ่าตัวเต็มวัย (adulticide) ที่ชื่อว่า melarsomine dihhydrochloride ฉีด 3 ครั้ง ครั้งแรกกับครั้งที่ 2 ห่างกัน 1 เดือน และครั้งที่ 3 จะฉีด 1 วันถัดจากครั้งที่สอง
(ที่มา https://www.honestdocs.co/heartworm-disease-in-dogs)
#ยาหยอดหลังคอ #ยาถ่ายพยาธิ
18 เม.ย 2562
23 ธ.ค. 2561
29 มิ.ย. 2560