โรคบิดในสุกร เกิดจากเชื้อโปรโตซัวที่เรียยกว่า ไอโซสปอร่าซูอิส (Isospora suis) ซึ่งมีผลทำให้เซลล์ของผนังลำไส้เล็ก ถูกทำลาย หรือได้รับความเสียหาย ความชุกของโรคจะสูงขึ้นเมื่อมีนกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมาอยู่ร่วมกัน โอโอซิสส์ของเชื้อบิดมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม สามารถอยู่ภายนอกตัวสัตว์ได้นานหลายเดือน และยากต่อการทำลายด้วยสารฆ่าเชื้อซึ่งมีผลทำให้ยากต่อการควบคุม
เชื้อบิดมีผลกระทบต่อลูกสุกรดูดนมเป็นอันดับแรก และพบอุบัติการณ์สูงในช่วงอายุ 8-15 วัน หรือบางครั้งพบเมื่อเร็วกว่านี้ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและสิงแวดล้อม การเตรียมซองคลอดที่ไม่สะอาดร่วมกับขวบการที่ทำให้คอกมีการเปียกชื้น ถือว่าเป็นจุดเสี่ยง
ลูกสุกรจะมีสภาพขาดน้ำ น้ำหนักตัวลดลง ทำให้อัตรการเจริญเติบโตลดลง 15% ในวันที่หย่านม
ให้ละลายอิเล็กโตรไลต์ใส่ถ้วยน้ำเพื่อช่วยลดการสูญเสียอิเล็กโตรไลต์เนื่องจากท้องเสีย ต้องหมั่นเติมบ่อย ๆ วันละ 4-6 ครั้ง
เตรียมกล่องกก และไฟกกให้พร้อมเพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้อบอุ่นให้ลูกสุกรที่ท้องเสีย เนื่องจากลูกสุกรที่ท้องเสียอุณหภูมิของร่างกายจะต่ำกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้ลูกสุกรนอนสุม ไม่กินอาหาร
ให้ยาป้องกันบิด เช่น โทลทราซูริล อัตรา 20 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม